การฉีดสิว เป็นวิธีรักษาสิวที่หลายคนเลือกใช้ เพราะเห็นผลลัพธ์รวดเร็ว สิวยุบภายใน 1-2 วัน แต่รู้หรือไม่ว่า การฉีดสิว มีความเสี่ยง และอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงในระยะยาวได้ค่ะ
ยาฉีดสิว คืออะไร?
ยาฉีดสิว คือ สเตียรอยด์ชนิดฉีด ซึ่งนำมาละลายกับยาชา เพื่อลดการอักเสบ ทำให้คนไข้รู้สึกว่าสิวยุบไว ทันใจ แต่แท้จริงแล้ว สิวยังไม่ได้ถูก “รักษา”
ในระยะสั้น การฉีดสิวเพียงไม่กี่ครั้งอาจจะไม่เป็นไร แต่ในระยะยาว ผิวบริเวณนั้นจะบาง และอ่อนแอลง มีลักษณะของโพรงขนที่เปลี่ยนไป และทำให้สิวกลับมาขึ้นที่เดิมในบริเวณที่เคยฉีด คนไข้จะเป็นสิวที่เดิมซ้ำๆ ทำให้ต้องกลับมาฉีดอีกเป็นวงจรไม่รู้จบ และเกิดเป็นปัญหา สิวเรื้อรัง (Chronic Acne) ตามมา
การฉีดสิว เป็นวิธีรักษาสิวที่หลายคนเลือกใช้ เพราะเห็นผลลัพธ์รวดเร็ว สิวยุบภายใน 1-2 วัน แต่รู้หรือไม่ว่า การฉีดสิว มีความเสี่ยง และอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงในระยะยาวได้ค่ะ
ทำไมถึงไม่ควร ฉีดสิว?
- การฉีดสิวไม่ใช่การรักษาสิวที่ต้นเหตุ
- หากฉีดบ่อยๆ จะเป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่วงจรสิวเรื้อรัง
- มีโอกาสเกิดหลุม รอยบุ๋ม แม้จะหายได้เองใน 1-2 เดือน
- สิวจะขึ้นง่ายกว่าเดิมในอนาคต
- อาจทำให้เกิดไตแข็งๆ ใต้ผิวหนัง
หากยาที่ฉีด มีความเข้มข้นของสเตียรอยด์ที่สูง จะทำให้ไขมันใต้ผิวหนังบริเวณนั้นยุบตัวลง เกิดเป็นรอยบุ๋ม ซึ่งกินเวลาหลายเดือนในการกลับมาเป็นเหมือนเดิม
การฉีดสิว เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ไม่ควรทำบ่อย
แนวทางการรักษา โดยไม่ต้องฉีดสิว
การรักษาสิว สามารถทำได้หลายวิธี และควรรักษาไปร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ไม่เพียงแต่การฉีดสิวเพียงอย่างเดียว
- การใช้เลเซอร์ ในกลุ่ม Yellow Laser เช่น Advatx 589 nm หรือ V-Beam 595 nm ที่มีช่วงคลื่นแสงเหมาะกับรอยแดง รอยสิว ลดการอักเสบของสิว
- การใช้เลเซอร์ฟื้นฟูโครงสร้างผิวให้แข็งแรง เช่น เลเซอร์ ADVATx ในกลุ่ม Infrared 1319 nm จะเป็นแสงที่กระตุ้นชั้น Fibroblast ของผิว ช่วยลดอาการผิวแพ้ง่าย ลดการทำงานของต่อมไขมัน
- เครื่องมือ TheraClear หรือในกลุ่มการรักษาด้วยแรงดูดสูญญากาศ เพื่อกำจัดแบคทีเรีย ที่เป็นอาหารของสิว ลดการอุดตันของโพรงขน ทำให้สิวหายได้จากต้นเหตุ
- การฉายแสง ในกลุ่มแสงสีฟ้า หรือสีแดง ช่วยฆ่าเชื้อสิว กระตุ้นให้โครงสร้างผิวแข็งแรง ลดการอักเสบ
- การตรวจระดับฮอร์โมน ในคนไข้เพศหญิงที่เป็นสิวเรื้อรัง มักพบปัญหา ถุงน้ำหลายใบในรังไข่ (Polycystic Ovary Syndrome) หรือที่รู้จักกันในชื่อ PCOS ซึ่งเมื่อได้รับการรักษา จะทำให้สิวลดลงอย่างรวดเร็ว
TheraClear การรักษาสิวด้วยแรงดูดสูญญากาศ คู่กับการยิงแสง IPL
ฉีดสิวอย่างไรให้ปลอดภัย?
หากจำเป็นต้องฉีดสิว ควรอยู่ในการพิจารณาของแพทย์ ฉีดเฉพาะจุดที่มีความจำเป็น เช่น สิวอักเสบรุนแรงที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่นๆ เพื่อป้องกันการทิ้งรอย และไม่ควรฉีดทุกจุดที่เกิดสิวเป็นประจำ เพราะนอกจากอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง อย่างรอยบุ๋ม ผิวบางแล้ว ในอนาคตสิวมักขึ้นซ้ำเรื่อยๆ
เกิดเป็นวงจร กดสิว-ฉีดสิว วนสลับไปมาไม่รู้จบ ต้องกลับไปทำทุกสัปดาห์ จนปัญหาบานปลาย เพราะผิวหน้าอ่อนแอ เกิดเป็นสิวเรื้อรัง (Chronic Acne) ที่รักษาได้ยากกว่าตามมาค่ะ

สรุป การฉีดสิว ทำได้หรือไม่?
การฉีดสิวสามารถทำได้ แต่ไม่ควรทำเป็นประจำค่ะ เพราะการฉีดสิว ไม่ใช่การรักษาที่ต้นเหตุ การฉีดสิวเป็นประจำจะทำให้เกิดเป็นวงจรของสิวขึ้นที่เดิมซ้ำๆ ส่งผลให้โครงสร้างของผิวเสีย ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาสิวในอนาคตได้ค่ะ
การรักษาสิวควรแก้ที่ต้นเหตุ ลดปริมาณการฉีดสิวลง ร่วมกับการฟื้นฟูผิวให้แข็งแรงไปพร้อมกัน จะช่วยให้มีผิวที่สุขภาพดี ไม่เกิดเป็นวงจรสิวซ้ำๆ ในระยะยาวค่ะ