ขนคุด หรือผิวที่มีลักษณะคล้ายตุ่มหนังไก่ นอกจากความไม่สวยงามแล้ว ยังอาจทำให้เกิดอาการคัน หรือระคายเคืองผิวได้ หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง แต่อาการเหล่านี้สามารถรักษา และป้องกันไม่ได้เกิดกับผิวของเราได้ค่ะ
ขนคุด เกิดจากอะไร?
ขนคุด หรือ Keratosis Pilaris เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย เกิดจากการที่เส้นขนในบริเวณนั้น ไม่สามารถขึ้นมาบนชั้นผิวหนังได้ตามปกติ มักเกิดขึ้นบริเวณรักแร้ ต้นแขน ต้นขา ลักษณะเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีแดง คล้ายหนังไก่ สากกระด้าง มักไม่คัน แต่บางรายอาจรู้สึกคันหรือระคายเคือง
สาเหตุ และปัจจัยกระตุ้นให้เกิดขนคุด
เกิดจากการที่เซลล์ผิวหนังเก่าตายสะสม อุดตันบริเวณรูขุมขน ร่วมกับการที่มีเคราตินมากเกินไป ทำให้ผิวหนังหนาขึ้น เกิดเป็นตุ่มขนคุด โดยมีปัจจัยกระตุ้นดังนี้
- จากสภาพผิวที่แห้ง จะกระตุ้นให้อาการแย่ลง เกิดขนคุดง่ายได้ขึ้น
- เกิดจากการกำจัดขนผิดวิธี เช่น การโกน ถอด แว็กซ์ขน หรือการใช้ครีมกำจัดขนที่มีสารรุนแรง
- ปัญหาภูมิแพ้ผิวหนัง
คำถามที่พบบ่อย ในการรักษาขนคุด
ขนคุด สามารถหายเองได้หรือไม่?
ขนคุดสามารถหายเองได้ แต่ไม่สามารถรู้ได้ว่าจะใช้เวลานานเท่าไหร่ รวมถึงหากปล่อยทิ้งไว้ก็มีโอกาสที่อาการจะแย่ลง และเกิดเป็นการอักเสบของผิวเรื้อรังได้เช่นกัน
ควรทำอย่างไรเมื่อเป็นขนคุด?
ไม่ควรแกะ หรือเกาตุ่มนูน เพราะจะส่งผลให้อาการแย่ลง แนะนำให้ใช้มอยเจอร์ไรเซอร์ในการบำรุงผิวอย่างสม่ำเสมอ หากอาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรักษาที่ต้นเหตุ
ขนคุดรักษาด้วยวิธีไหนดีที่สุด?
แนะนำให้ทำเลเซอร์เพื่อกำจัดขนอย่างต่อเนื่อง เมื่อปริมาณเส้นขนลดลง จะช่วยแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้ ลดการอุดตัน ซึ่งจะเห็นผลได้ในระยะยาว และไม่กลับมาเป็นซ้ำ
อาการของขนคุด
สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ง่ายๆ ดังนี้
- ผิวมีลักษณะเป็นตุ่มนูนเล็กๆ ตามรูขุมขน
- อาจมีอาการบวมแดง และคันร่วมด้วย
- อาหารมักแย่ลงเมื่อผิวแห้ง ลูบผิวแล้วมีลักษณะสากๆ
ขนคุด สามารถเกิดได้ทุกบริเวณที่มีรูขุมขน และมีเส้นขนเกิดขึ้นตามธรรมชาติ มักพบบริเวณ รักแร้ แขน ขา ทั่วหลัง จุดซ้อนเร้น หรือแม้แต่ใบหน้า
การป้องกันไม่ให้เกิดขนคุด
- ไม่ควรโกนขนย้อนแนวโพรงขน จะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ
- ไม่ควรถอนขน หรือแว็กซ์ขน เพราะทำให้ผิวระคายเคืองได้ง่าย
- ควรใช้มอยเจอร์ไรเซอร์ บำรุงผิวให้สม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่รัดรูป เพื่อลดการเสียดสีผิวหนัง
วิธีการรักษา ขนคุด ตุ่มหนังไก่
1.การใช้ยาทารักษา
โดยใช้ยาในกลุ่มการผลัดเซลล์ผิว ที่มีส่วนผสมของ AHA BHA กรดวิตามิน หรือยูเรีย เป็นวิธีเบื้องต้นที่ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่อาจต้องใช้ระยะเวลานานในการรักษา
2.เลี่ยงการขัดผิวที่รุนแรง
เราสามารถขัดผิว เพื่อลดการอุดตันของรูขุมขน ช่วยระบายสิ่งสกปรก และเซลล์ผิวที่ตายแล้วออก แต่ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ สูตรอ่อนโยนไม่ระคายเคืองผิว และเลี่ยงบริเวณที่มีการอักเสบของผิว
3.การทำ IPL (Intense Pulsed Light)
ILP คือ การใช้คลื่นแสงช่วงกว้าง ตั้งแต่ 400 nm – 1200 nm เพื่อทำให้เมลานินดูดซึมพลังงานเข้าไปทำลายเส้นขน
แต่เนื่องจาก IPL มีช่วงแสงที่กว้าง ไม่เจาะจง พลังงานจึงไม่ลงลึกพอที่จะทำลายรากขนในครั้งเดียว มักต้องใช้จำนวนครั้งที่มากกว่าการทำเลเซอร์ในกลุ่ม Nd YAG Laser และอาจเกิดผลข้างเคียง เช่น รอยไหม้ หรือผิวแดงค้างหลังทำได้ง่าย
4.การทำ Laser (ในกลุ่ม Nd:YAG)
Nd:YAG (อ่านว่า เอ็นดี แย็ก) ย่อมาจาก Neodymium-doped Yttrium Aluminum Garnet Laser เป็นเลเซอร์ชนิดหนึ่งที่มีความยาวคลื่น 1064 นาโนเมตร โดยมีการเติมสาร Neodymium (นีโอไดเมียม) ลงไปในผลึก YAG ทำให้สามารถปล่อยแสงเลเซอร์ออกมาได้
YAG Laser เป็นช่วงแสงที่จำเพาะกับ เม็ดสีเมลานิน หรือเส้นขนสีดำ จึงไม่มีผลกับผิวหนังส่วนบน พลังงานตรงไปที่รากขน เพื่อทำลายเซลล์ต้นกำเนิด ทำให้รากขนฝ่อตัว และหายไปถาวร จึงเห็นผลการรักษาได้ไวกว่าการทำ IPL
สรุป วิธีรักษาขนคุด ให้ผิวเรียบเนียน
ขนคุด เป็นอาการทางผิวหนังที่มักไม่มีอันตราย และสามารถรักษาให้หายได้ โดยต้องอาศัยความสม่ำเสมอในการรักษา เช่น การทำเลเซอร์กำจัดขน ร่วมกับการดูแลผิวอย่างเหมาะสม จะช่วยให้ผิวกลับมาเรียบเนียน และมีปริมาณเส้นขนที่ลดลงได้ถาวรค่ะ